วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554

หลักการ 4 R

Eco Design มี กรอบความคิดหลักคือ ครอบคลุมวงจรให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยสามารถแบ่งกระบวนการออกเป็นช่วงๆ ให้ชัดเจนได้ คือ

  • การวางแผนการผลิต (Planning Phase)
  • ช่วงการออกแบบ (Design Phase)
  • ช่วงการผลิต (Manufacturing Phase)
  • ช่วงการนำไปใช้ (Usage Phase)
  • ช่วงการทำลายหลังการใช้เสร็จ (Disposal Phase)

ซึ่่งหลักการสำคัญก็คือ หลัก 4 R นั่นเอง

  • Reduce หรือลด ก็คือการลดการใช้ทรัพยากรในช่วงต่างๆ ของวงจรผลิตภัณฑ์ เช่น การลดการใช้ทรัพยากรในการออกแบบ เริ่มตั้งแต่ลดการใช้กระดาษในการออกแบบไปเลย ลดการใช้ทรัพยากรในการออกแบบ ลดอัตราการใช้วัตถุดิบในกระบวนการผลิต ลดอัตราการใช้พลังงานในกระบวนการผลิต ลดอัตราการใช้พลังงานในระหว่างการใช้งาน
  • Reuse หรือใช้ซ้ำ ทั้งที่เป็นการใช้ใหม่ในผลิตภัณฑ์เดิมหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ก็ตามหรือที่เรียก ว่า การออกแบบเพื่อการนำกลับมาใช้ซ้ำ (Design for Reuse) เช่น การออกแบบให้ผลิตภัณฑ์แต่ละรุ่นมีชิ้นส่วนบางชิ้นส่วนที่ใช้ร่วมกันได้ เมื่อรุ่นแรกหยุดการผลิตแล้วยังสามารถเก็บคืนและนำบางชิ้นส่วนมาใช้ในการ ผลิตรุ่นต่อไปได้
  • Recycle หรือการนำกลับมาใช้ใหม่ หมายถึง การนำผลิตภัณฑ์หรือชิ้นส่วนของผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้วมาผ่านกระบวนการผลิตใหม่ แล้วนำกลับมาใช้โดยการออกแบการใช้งานผลิตภัณฑ์เพื่อการนำกลับมาใช้ใหม่ จะต้องเอื้อต่อกระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่ เช่น การออกแบบให้ถอดประกอบได้ง่าย (Design for Disassembly) การออกแบบเพื่อการนำกลับมาใช้ใหม่ (Design for Recycle) เช่น การออกแบบผลิตภัณฑ์โดยใช้วัตถุดิบพลาสติกหรือกระดาษที่ง่ายต่อการนำกลับมา ใช้
  • Repair หรือการซ่อมบำรุง ก็คือการออกแบบให้ผลิตภัณฑ์ง่ายต่อการซ่อมบำรุงได้ง่ายจะเป็นการยืดอายุช่วง ชีวิตของการใช้งาน (Extended Usage Life) ซึ่งท้ายที่สุดสามารถลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ เช่น ออกแบบให้เปลี่ยนอะไหล่ได้ง่าย

- หนังสือสกุลไทย ปีที่ 54 ฉบับที่ 2805 ประจำวันอังคารที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ.2551 หน้า 102
- www.thaienv.com

Sustainable Design

การออกแบบอย่างยั่งยืน Sustainable Design คือ การออกแบบที่ส่งผลดีต่อโลก สร้างความสมดุล ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม มีการบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างคุ้มค่า เช่น การใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้น้อยลง การนำของเสียกลับมาใช้ใหม่ การหาทางเลือกหรือคิดค้นนวัตกรรมที่จะส่งผลกระทบต่อโลกน้อยลง เป็นการออกแบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คำนึงถึงผู้ผลิตและผู้บริโภค

การ ออกแบบอย่างยั่งยืน (Sustainable design) หรือการออกแบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green design, Eco-design หรือ Design for the environment)
นับเป็นกระแสหลักของการออกแบบยุคใหม่ที่นักออกแบบหลายต่อหลายคนต่างให้ความ สำคัญเพิ่มมากขึ้น ในปัจจุบันกระแสที่ว่ากำลังได้รับความสนใจในหลายวงการไม่ว่าจะเป็นวงการสถา ปัตยกรรม การออกแบบภูมิทัศน์ การออกแบบและวางผังเมือง วิศวกรรม การออกแบบกราฟฟิก การออกแบบอุตสาหกรรม การออกแบบภายใน หรือแม้แต่การออกแบบแฟชั่น

แท้ จริงแล้วความหมายของการออกแบบอย่างยั่งยืนนั้น มีความเกี่ยวข้องตั้งแต่การออกแบบวัตถุขนาดเล็กไปจนถึงการออกแบบสิ่งก่อ สร้างขนาดใหญ่ อย่างตึกรามบ้านช่องหรือแม้แต่การสร้างเมือง สร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมและการบริการที่สอดคล้องกับกฎทางเศรษฐกิจ สังคม ตลอดจนการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืน

การออกแบบ อย่างยั่งยืนให้ความสำคัญกับการเลือกใช้ทรัพยากรที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ ใหม่ให้น้อยที่สุด ทั้งนี้เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทั้งยังพยายามเชื่อมโยงผู้คนเข้ากับสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติให้มากที่สุด โดยมุ่งสร้างวิถีการดำรงชีวิตที่ยั่งยืนและช่วยแก้ไขปัญหาวิกฤตการณ์สิ่งแวด ล้อมของโลกด้านต่างๆ อาทิ การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของจำนวนประชากรที่เป็นผลให้ทรัพยากรธรรมชาติลดลง อย่างมหาศาล การเสียภาวะสมดุลทางสิ่งแวดล้อมและการขาดความหลากหลายทางชีวภาพ ดังนั้นการออกแบบที่ยั่งยืนจึงนับเป็นวิธีการในการคงคุณภาพชีวิตอันสมบูรณ์ ด้วยวิธีการออกแบบอันชาญฉลาด เพื่อทดแทนการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมดังเช่นในอดีต อาจพูดได้ว่าการ ออกแบบอย่างยั่งยืนนี้ไม่ได้เป็นเพียงส่วนเสริมของการออกแบบสถาปัตยกรรม แต่กลายเป็นกระบวนการสำคัญของศาสตร์และศิลป์แห่งการออกแบบเกือบทุกแขนงไป เป็นที่เรียบร้อย

keywords :

  • ทรัพยากรที่นำมาใช้
  • ผลที่มีต่อสิ่งแวดล้อม
  • มนุษย์




- www.tcdc.or.th/articles.php?act=view&id=35

- www.mioculture.com

- http://reestore.com/products.htm

- www.mioculture.com

- www.freitag.ch/shop/FREITAG/page/frontpage/detail.jsf

- www.alchemygoods.com

Green Design + EcoDesign + Sustainable Design

Keywords :
  • EcoDesign = Economic + Ecological Design / การออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจ
  • Green Design / การออกแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  • Sustainable Design / การออกแบบอย่างยั่งยืน
  • Design for the Environment / การออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม

การออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจและการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม (EcoDesign and Design for Environment)


EcoDesign มาจากสองคำรวมกันคือ Economic (เศรษฐศาสตร์) และ Ecological (นิเวศวิทยา) เมื่อรวมกับ Design (การออกแบบ) จึงเรียกว่า EcoDesign หรือบางครั้งเรียกว่า Green Design หรือ Design for Environment เป็น กระบวนการที่ผนวกแนวคิดด้านเศรษฐกิจและด้านสิ่งแวดล้อม เข้าไปในขั้นตอนการออกแบบผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการ โดยเเป้าหมายหลักของการออกแบบเพื่อให้การบริโภคทรัพยากรธรรมชาติ พลังงาน และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด โดยการพิจารณาตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตถัณฑ์ (Product Life Cycle) จาก ผลิตภัณฑ์เกิดจนถูกทำลายและนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งแนวคิดนี้จะต้องอาศัยกลยุทธ์ในการพิจารณาการออกแบบผลิตให้สามารถจำหน่าย ได้ และลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆกัน ซึ่งจะทำให้ส่งผลดีทั้งทางด้านธุรกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งปัจจุบันการออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจนี้ได้ถูกนำไปใช้กันอย่างแพร่หลายใน หลายประเทศ โดยมีการสนับสนุนจากภาครัฐในการออกกฏระเบียบต่างๆ เข้ามาบังคับใช้สนับสนุน เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างรวดเร็ว เช่น การออกฉลากสิ่งแวดล้อม หรือฉลากด้านพลังงาน


*ที่มา: หนังสือการประเมินวัฏจักรชีวิตและการออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (จัดทำโดย สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์, ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ, สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 2549)



Eco-Label

ฉลากเขียว คือ ฉลากที่ให้กับผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า เมื่อนำมาเปรียบ เทียบกับผลิตภัณฑ์ที่ทำหน้าที่อย่างเดียวกัน
ข้อดีของ การมีฉลากเขียวติดอยู่บนผลิตภัณฑ์ก็คือใช้เป็นเครื่องหมายให้กับผู้ บริโภคทราบว่าผลิตภัณฑ์นั้นเน้น คุณค่าทางสิ่งแวดล้อม ผู้บริโภคจะได้เลือกซื้อถูกต้องตามวัตถุประสงค์ ในส่วนผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายจะได้รับผล ประโยชน์ในแง่กำไรเนื่องจากมีการบริโภคผลิตภัณฑ์เหล่านั้นมากขึ้น ผลักดันให้ผู้ผลิตรายอื่นๆ ต้องแข่งขันกันปรับปรุงคุณภาพของสินค้าหรือบริการของตนในด้านเทคโนโลยี โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการยอมรับของประชาชน และส่งผลตอบแทนทางเศรษฐกิจแก่ผู้ผลิตเองในระยะยาว ฉลากเขียวจึงเป็นเครื่องมืออย่าง หนึ่งที่ช่วยป้องกันรักษาธรรมชาติผ่านทางการผลิตและการบริโภคของประชาชน






4 Rs Logo > sample



website ข้อมูล :

- www.thaigdn.net
- www.thaienv.com
- www.environnet.in.th
- www.tisi.go.th/green/

สัญลักษณ์สี Recycle และหนังสือควรอ่าน

การใช้สัญลักษณ์สีในการจัดการขยะหนังสือควรอ่านประกอบการเรียนในเรื่อง Green Design, EcoDesign, Sustainable Design, Design for Environment





Green Design, Eco Design, Sustainable Design, Design for Environment - บทความ

จาก TCDC

  1. Green Design สวยง่ายๆ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
    http://www.tcdc.or.th/articles.php?act=view&id=35&lang=th

  2. การเสวนาบรรจุภัณฑ์รัก/รกโลก
    http://www.tcdc.or.th/events.php?act=view&id=224&lang=th
    Green Packaging ใช้บรรจุภัณฑ์ช่วยโลกกันเถอะ
    http://www.sabai-arom.com/green_packaging.html

  3. การประกวดออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงนิเวศเศรษฐกิจแห่งประเทศไทย
    http://www.tcdc.or.th/news.php?act=view&id=127&lang=en
  4. Design for the Environment
    http://www.tcdc.or.th/events.php?act=view&id=102&lang=en

ผศ. ดร. สิงห์ อินทรชูโต

  1. มีเท่าไหร่ ผมให้ (โลก) หมดเลย ผศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต
    http://www.artgazine.com/shoutouts/viewtopic.php?t=9775

    imaim.wordpress.com/2009/.../ดีไซเนอร์ผู้พิทักษ์-สิ/
  2. "ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม" ที่ออกแบบได้ ของ ผศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต
    http://www.sakulthai.com/DSakulcolumndetailsql.asp?stcolumnid=5645&stissueid=2747&stcolcatid=1&stauthorid=2
  3. ผศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต...วีรบุรุษกองขยะ
    http://www.rockyfurniture.com/article.php?id=63670&lang=th

My Design Hero . . .

จากการศึกษาในสาขาวิชาด้านออกแบบมา 3 ปี นักศึกษาได้พบ เห็น ดู สัมผัส ชื่นชมงานของนักออกแบบไทยและต่างประเทศที่มีความหลากหลายทางความคิด เชื้อชาติ สายพันธุ์ ยุคสมัย วัฒนธรรม ความเชื่อ เทคโนโลยี ฯลฯ
จึงขอให้ นักศึกษาเลือกนักออกแบบที่ตนเองชื่นชม ประทับใจในผลงาน แนวความคิด วิธีนำเสนอ หนึ่งคน นำมา post ใน blog ของตนเอง โดยแสดง. . .
  • ชื่อ / สัญชาติ / ช่วงเวลา / ประวัติคร่าวๆ / ตัวอย่างผลงาน / แนวความคิด / วิธีการนำเสนอ
  • เหตุผลของตัวนักศึกษาเอง + การวิเคราะห์ ว่าเหตุใดจึงชอบ? ชอบเพราะอะไร? ผลงานของนักออกแบบนั้นๆ สื่อสารสิ่งใด? ส่งผลต่อผู้รับสารและสังคมส่วนรวมอย่างไร?
print ส่งและโพสต์ใน blog ของตนภายในวันอังคารที่ 25 มกราคม 2554